ปลูกถั่วให้เป็นทอง หนุ่มชาวไร่ไต้หวันฟื้นส่งออกถั่วแระญี่ปุ่น

หนุ่มชาวไร่วัย 38 ปี Hou Chau-Pai ทำงานราวกับตัวตุ่น เขาใช้มือขุดดินเพื่อตรวจให้แน่ใจว่า เมล็ดถั่วแระญี่ปุ่นที่ใช้เครื่องจักรฝังลงดิน จะมีระยะลึกกำลัง ไม่ลึกเกินไปจนต้นถั่วอ่อนแทงยอดไม่ได้ ไม่ตื่นไปจนโดนแดดเผาจนแห้งตาย ในทุกวันนี้ถั่วแระญี่ปุ่น (Edamame) กลายเป็นพืชผลทำเงินชนิดล่าสุดของเกาะไต้หวัน จนได้รับฉายา “ทองคำสีเขียว”
Hou เอาใจใส่ดูแต่จนทำให้ผลผลิตของเขามีราคาสูงกว่าตลาดร้อยละ 10-20 บนพื้นที่เพาะปลูกของเขาทางตอนใต้ของเกาะราว 1,560 ไร่ แถมยังรับซื้อผลผลิตจากชาวไร่รายอื่นๆ ในระบบเกษตรพันธะสัญญาด้วย หลังจากสืบทอดกิจการพ่อค้าสินค้าเกษตรคนกลางจากบิดาที่ล่วงลับ เขาต้องเจอกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จนตัดสินใจลงมือเพาะปลูกเสียเอง แต่ก็หนีไม่พ้นปัญหามากมายจนเก็บจะโบกมือลา แต่กลับเกิดกำลังใจอีกครั้งหลังจากเดินทางไปฝรั่งเศสในปี 2003 จนได้รู้จักกับเกษตรกรรมแม่นยำสูง (precision farming) โดยใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัย
ตระกูลของเขาจึงอยู่แถวหน้าของเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่เพื่อสร้างความได้เปรียบของต้นทุนต่อหน่วยบนเนื้อ 15,625 ไร่ ที่เป็นเขตส่งออกพิเศษสำหรับถั่วแระญี่ปุ่น ซึ่งให้ผลผลิตถึงร้อยละ 70 ของทั้งเกาะไต้หวัน และเมื่อนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า จะสามารถทำรายได้จากการส่งออกถึง 72 ล้านเหรียญ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ไต้หวันกลับมาเป็นแชมป์ส่งออกถั่วแระไปญี่ปุ่นอีกครั้ง มีส่วนแบ่งการตลาดถึงร้อยละ 40 หลังจากถูกจีนแซงหน้าไปเป็นสิบปีในช่วง 1996-2006 โดยเฉพาะช่วงปี 2001 นั้น เป็นปีที่เลวร้ายที่สุด
Hou เอาใจใส่ดูแต่จนทำให้ผลผลิตของเขามีราคาสูงกว่าตลาดร้อยละ 10-20 บนพื้นที่เพาะปลูกของเขาทางตอนใต้ของเกาะราว 1,560 ไร่ แถมยังรับซื้อผลผลิตจากชาวไร่รายอื่นๆ ในระบบเกษตรพันธะสัญญาด้วย หลังจากสืบทอดกิจการพ่อค้าสินค้าเกษตรคนกลางจากบิดาที่ล่วงลับ เขาต้องเจอกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จนตัดสินใจลงมือเพาะปลูกเสียเอง แต่ก็หนีไม่พ้นปัญหามากมายจนเก็บจะโบกมือลา แต่กลับเกิดกำลังใจอีกครั้งหลังจากเดินทางไปฝรั่งเศสในปี 2003 จนได้รู้จักกับเกษตรกรรมแม่นยำสูง (precision farming) โดยใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัย
ตระกูลของเขาจึงอยู่แถวหน้าของเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่เพื่อสร้างความได้เปรียบของต้นทุนต่อหน่วยบนเนื้อ 15,625 ไร่ ที่เป็นเขตส่งออกพิเศษสำหรับถั่วแระญี่ปุ่น ซึ่งให้ผลผลิตถึงร้อยละ 70 ของทั้งเกาะไต้หวัน และเมื่อนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า จะสามารถทำรายได้จากการส่งออกถึง 72 ล้านเหรียญ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ไต้หวันกลับมาเป็นแชมป์ส่งออกถั่วแระไปญี่ปุ่นอีกครั้ง มีส่วนแบ่งการตลาดถึงร้อยละ 40 หลังจากถูกจีนแซงหน้าไปเป็นสิบปีในช่วง 1996-2006 โดยเฉพาะช่วงปี 2001 นั้น เป็นปีที่เลวร้ายที่สุด
Chou Kuo-Lung นักพืชศาสตร์ประจำสถานีวิจัยเกษตร Kaoshi-ung District กล่าวว่า ในตอนนั้นมีคนบอกว่าอุตสาหกรรมผลิตถั่วแระญี่ปุ่นของไต้หวัน คงจะอยู่ได้แค่ไม่เกินห้าปี แต่เขาไม่ยอมเชื่อเช่นนั้น และได้พาผู้นำเกษตรกรเดินทางข้ามไปดูงานเพาะปลูกชายฝั่งของประเทศจีน จนทำให้ได้แนวคิดในการฟื้นคืนชีพการผลิตถั่วแระ ทั้งการปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ ใช้เครื่องจักร ควบคุมยากำจัดศัตรูพืชอย่างเข้มงวด พร้อมกับพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ
ด้วยแนวทางใหม่ที่คิดค้นขึ้น และด้วยกำลังสนับสนุนจากเกษตรกรรุ่นหนุ่ม 17 คน ซึ่งในวันนี้ทุกคนยังอายุต่ำกว่า 45 ปี ทำให้การเพาะปลูกและแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่นของไต้หวันกลับมาคึกคักอีกครั้ง จน Chou ได้รับสมญาว่าเจ้าพ่อถั่วแระญี่ปุ่น แต่เขากลับยกความดีความชอบให้กับเกษตรกรหนุ่มทั้งหลาย โดยเฉพาะหนุ่มตัวตุ่น Hou ที่ร่วมทริปเดินทางไปฝรั่งเศสด้วยกันในปี 2003
“เขามีหัวคิดเรื่องเครื่องจักรกลเป็นอย่างสูง กล้าที่จะทดลองวิธีการเพาะปลูกใหม่ๆ และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการบริหารจัดการให้ทันสมัย”
สรุปและเรียบเรียงจาก ปลูกถั่วให้เป็นทอง, Forbes Thailand ฉบับ MARCH 2014 (Taiwanese Edamame Farmers Revive an Export Crop) เรียบเรียงเป็นไทยโดย เสาวรภย์ ปัญญาชีวิน
สรุปและเรียบเรียงจาก ปลูกถั่วให้เป็นทอง, Forbes Thailand ฉบับ MARCH 2014 (Taiwanese Edamame Farmers Revive an Export Crop) เรียบเรียงเป็นไทยโดย เสาวรภย์ ปัญญาชีวิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น